คำนำ


ไปหน้าแรก      สารบัญ        Laploy.com    ระเบียนบทความ      บทความจากลาภลอย


เว็บไซต์นี้เป็นตัวอย่างเนื้อหาบางตอนในหนังสือ "เรียนรู้ด้วยตนเอง OOP C# ASP.NET" ครอบคลุม บทที่ 1 ถึงบทที่ 6 (ในหนังสือมี 21 บท) เนื้อหาใน Blog อาจอาจแตกต่างจากในหนังสือเพราะเป็นเนื้อหาที่ยังไม่ได้ตรวจแก้ขัดเกลา (edit)

กดที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเนื้อหาในแต่ละบท

กดที่นี่เพื่อไปยังเว็บบอร์ด ถาม-ตอบ 

 

 

สำหรับท่านผู้อ่านบล็อกต้องการซื้อหนังสือแต่หาซื้อไม่ได้
ขอเรียนว่าตอนนี้ก็เหลือน้อยแล้ว ซีเอ็ดบุ๊คบางสาขาก็ไม่มีออเดอร์มา
เพราะเริ่มขายช้าลง ทาง ผจก. ร้านก็ต้องพิจารณาเลือกหนังสือใหม่ๆ แรงๆ
ไปวางขายแทน ถ้าต้องการทราบว่าสาขาไหนมีวางขายบ้าง ก็คงต้องแนะนำให้เข้าไปที่เว็บไซต์ แล้วคลิกเลือกสาขาที่มีวางขาย ก็จะแสดงร้านหนังสือที่มีวางขายออกมาพร้อมเบอร์โทรฯ ครับ หรือจะสั่งซื้อทางเว็บ (www.se-ed.com) จะสะดวกที่สุด

คำนำ

หนังสือเล่มนี้คือทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้วิธีคิด และวิธีเขียนโค้ดแบบ OOP แต่ไม่ต้องการเข้าอบรมในชั้นเรียน หากท่านอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างตั้งใจ และทำแบบฝึกหัดต่างๆ โดยครบถ้วน ท่านก็จะเข้าใจหลักการ OOP สามารถเขียนโปรแกรมตามแนวคิด OOP และมีพื้นความรู้เพียงพอแก่การศึกษาในระดับสูงต่อไป

ในหนังสือเล่มนี้ ท่านจะได้เรียนรู้เรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อวิชาชีพซอฟท์แวร์ในอนาคตสามเรื่องคือ .NET Framework, วิธีสร้าง Web Application และการเขียนโปรแกรมภาษาด้วย C#

โปรดตรวจดูหัวข้อต่อไปนี้ว่ามีหัวข้อใดตรงกับความคิดของท่านหรือไม่

  • ท่านคือนักเขียนโค้ดแบบเดิมๆ ที่ต้องการเปลี่ยนวิธีทำงานมาเป็นแบบ OOP 
  • เป็นบุคคลทั่วไปที่สนใจ และต้องการศึกษาหลักการ OOP 
  • ต้องการเรียนวิธีสร้าง web application แบบ ASP.NET2.0 โดยใช้ภาษา C# 
  • นักเขียนโค้ดภาษา VB ที่ต้องการเริ่มเรียนภาษา C#
  • นักเขียนโค้ดที่เขียนโปรแกรมมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปลี่ยนวิธีคิดให้เป็น OOP ได้ 
  • หากท่านเขียนโค้ดภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นแล้ว (เช่น C, C++, JavaScript, VBScript, PHP, Lingo และ ActionScript) แต่ต้องการเปลี่ยนมาเขียนภาษา C#
  • เป็นนักเขียนโค้ดภาษา Java ที่ต้องการเปลี่ยนสายมาเขียน C#
  • ท่านเขียนภาษา C# ได้ แต่ไม่เข้าใจ OOP และอยากเข้าใจ
  • ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานฐานข้อมูลแบบ Access, MS-SQL และ MySQL โดยใช้หลักการ OOP
  • ต้องการหัดสร้าง web application ตามหลักการ OOP

หากท่านมีคุณสมบัติตรงตามหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งข้างบนนี้ นี่คือหนังสือที่ท่านกำลังมองหา

ปกหน้าด้านนอกของหนังสือ เรียนรู้ด้วยตนเอง OOP C# ASP.NET

 

เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้

เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้คือสอนวิธีคิด วิธีเขียนโปรแกรมตามหลักการ OOP โดยใช้ภาษา C# เป็นสื่อในการสอน และแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานด้วย web application ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เปิดใช้งานอยู่จริงๆ มีองค์ประกอบสมบูรณ์ สามารถทดสอบการทำงานได้ เพื่อแสดงให้เห็นวิธีนำ OOP มาใช้แก้ปัญหาในการสร้างโปรแกรมประยุกต์ของจริง

คุณสมบัติและจุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้มีดังต่อไปนี้

  • ช่วยให้ท่านเข้าใจหลักการ OOP สามารถคิดเป็น OOP และเขียนโปรแกรมตามหลักการ OOP ได้ 
  • ภาคทฤษฏีสอน OOP โดยอ้างอิงภาษา C# เป็นหลัก แต่จะกล่าวเปรียบเทียบกับภาษา VB.NET, Java และ C++ ด้วย ทำให้ผู้ที่รู้ภาษาดังกล่าวปรับตัวได้ง่ายขึ้น
  • มีภาพประกอบพร้อมคำอธิบายจำนวนมาก เพื่อให้ท่านเข้าใจหลักการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
  • อธิบายคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับ OOP ทั้งหมดของภาษา C# พร้อมแสดงวิธีนำไปใช้
  • แสดงตัวอย่างเป็น source code ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  • แสดงวิธีสร้าง object ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ตามหลักการ OOP
  • แสดงวิธีหุ้มฐานข้อมูล access, MySQL และ MS-SQL เพื่อใช้งานในลักษณะ object
  • เพาะนิสัยการเขียนโค้ดภาษ C# ตามจารีต (best practice) โดยยึดตามแนวทางที่ระบุไว้ในมาตรฐาน ECMA-334 และฝึกตามแนวของท่าน Hejlsberg (บิดาแห่งภาษา C#) 
  • หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือสอนวิชาคอมพิวเตอร์ระดับเบื้องต้นที่สุด หากท่านยังไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนเลย ท่านควรอ่าน หรือเรียกการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นก่อนเล็กน้อย เช่นสมัครเรียนภาษา C, VB, PHP หรือ JavaScript สักหนึ่งคาบวิชา
  • หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือสอนภาษา C# ระดับก้าวหน้าที่สุด หากท่านเป็นนักเขียนโค้ดระดับก้าวหน้าที่สุด ท่านอาจพบว่าหนังสือเล่มนี้ไม่มีเนื้อหาที่ให้ความรู้อันใดแก่ท่านเลย
  • ภาษา C# ที่สอนในหนังสือเล่มนี้คือ C#2.0 และครอบคลุมส่วนเพิ่มเติมใน C#3.0 ด้วย

หนังสือนี้แม้จะครอบคลุมเนื้อหาเบื้องต้น ระดับกลาง และระดับก้าวหน้าของภาษา C# ไว้ทั้งหมด แต่มันก็ไม่ใช่หนังสือที่สอนไวยากรณ์ในภาษา C# (เช่น ไม่สอนว่าคำสั่ง if else ใช้อย่างไร คำสั่ง do while มี syntax อย่างไรเป็นต้น) หากท่านต้องการหนังสือที่มีรายละเอียดทุกคำสั่งในภาษา C# ผู้เขียนขอแนะนำหนังสือชื่อ The C# Programming Language (Hejlsberg สำนักพิมพ์ Addison Wesley) หรือศึกษาได้จากเอกสาร และเว็บไซต์ MSDN (Microsoft development network)

 

วิธีใช้หนังสือเล่มนี้

ภาคหนึ่งคือบทที่ 1 ถึงบทที่ 6 เป็นภาคทฤษฏี ท่านควรหาสถานที่เงียบสงบแล้วใช้สมาธิในการอ่านแต่ละบทโดยไม่รีบร้อน เมื่ออ่านจบแต่ละบทให้ทำส่วนตอบคำถามท้ายบท หากทำข้อใดไม่ได้ให้อ่านทบทวนบทนั้นอีกครั้ง ทำซ้ำเช่นนี้จนสามารถตอบคำถามได้ทุกข้อจึงจะนับว่าเข้าใจเนื้อหาในบทนั้น

แม้บทที่ 1 ถึงบทที่ 6 จะเป็นภาคทฤษฏี แต่ท่านก็ควรป้อนพิมพ์โค้ดตามตัวอย่าง และลองคอมไพล์เพื่อดูผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมด้วย หลักจากนั้นลองดัดแปลงโค้ดให้แปลกออกไปจากตัวอย่าง เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่นเขียนโค้ดขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อตัวแปรที่ท่านกำหนดขึ้นเอง หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของโปรแกรม จะทำให้ท่านเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น

ภาคสองเป็นภาคปฏิบัติ ท่านจะต้องติดตั้ง IDE และ compiler ตามที่แนะนำในหัวข้อถัดไป ทดลองคอมไพล์โปรแกรมเพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งสมบูรณ์ โปรแกรมต่างๆ สามารถทำงานได้ทั้งในส่วน client และ server

เมื่ออ่านแต่ละบทจบแล้ว ท่านควรจะป้อนพิมพ์โค้ดเพื่อสร้างคลาสต่างๆ ที่เรียนไปในบทนั้น ทดสอบการทำงาน และดีบักข้อบกพร่องที่อาจเกิดจากการป้อนพิมพ์ หากไม่สามารถแก้ไขได้ ให้ download โค้ดของบทนั้น (จากเว็บไซต์ที่ระบุในหัวข้อถัด) ไปนำมาเปรียบเทียบหาข้อบกพร่อง หากท่านหาความผิดพลาดไม่พบ หรือมีสิ่งที่ไม่เข้าใจ ให้อ่านทบทวนบทนั้นอีกครั้ง ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ให้ post ข้อความไว้ใน web board ที่ระบุไว้ในหัวข้อถัดไป

ตอนท้ายของแต่ละบทในภาคปฏิบัติจะมีโครงงาน เพื่อให้ท่านหัดเขียนโปรแกรมตามหัวข้อที่เรียนไปในบทนั้น ท่านควรจะพยายามทำแบบฝึกหัดเหล่านี้ให้สำเร็จโดยไม่เปิดดูเฉลยท้ายเล่ม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการเรียน programming เป็นเรื่องของการปฏิบัติ การลองผิดลองถูก และชั่วโมงบิน (ในการเขียนโค้ด)

เมื่อท่านอ่านจบทั้งเล่ม ทำแบบทดสอบ และแบบฝึกหัดครบทั้งหมดแล้ว ท่านควรจะสร้างโปรแกรมสักหนึ่งหรือสอง project ตามหัวข้ออะไรก็ได้ที่ท่านต้องการ (เช่นโปรแกรมบริหารห้องสมุด หรือโปรแกรมจัดการ web board) โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นโปรแกรมที่ใช้แนวคิด OOP อย่างสมบูรณ์ ให้เริ่มจากโครงงานที่มีขอบเขตไม่ใหญ่มากนัก เมื่อทำเสร็จแล้วจึงเพิ่มคุณสมบัติก้าวหน้าต่างๆ ในภายหลัง การทำโครงงานจะทำให้ท่านสามารถเขียนโปรแกรมแบบ OOP ได้

ขณะที่ท่านเขียนโปรแกรมหากติดปัญหาใดๆ ให้ใช้หนังสือนี้เป็นเป็นคู่มือเพื่อค้นคว้าอ้างอิง โดยสามารถใช้ส่วน “ข้อสรุปเกี่ยวกับ…” ซึ่งมีอยู่ทุกๆ ส่วนท้ายข้อหัวข้อสำคัญๆ ซึ่งจะทำให้ท่านได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องๆ นั้นๆ อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ท่านกำลังเขียนโปรแกรมอยู่แล้วเกิดจำไม่ได้ว่า access modifier คืออะไรและมีไว้ทำอะไร แต่จำได้ว่าเคยอ่านไปแล้ว ให้ท่านมองหาคำว่า access modifier ในสารบัญละเอียด และเปิดไปยังหัวข้อนั้น ที่ท้ายหัวข้อจะมี “ข้อสรุปเกี่ยวกับ access modifier” ซึ่งท่านสามารถใช้ทบทวนความจำได้อย่างรวดเร็ว

 

ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการเรียนการสอน

การเขียนโปรแกรมภาษา C# เพื่อทดสอบหลักการ OOP ท่านอาจใช้เพียง Text editor อย่าง Windows Notepad ก็ได้ แต่เพื่อให้เขียนโปรแกรมได้สนุกขึ้น ท่านควรใช้เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ Microsoft Visual Studio 2005 หรือ Express Edition ที่ท่านสามารถ download ได้ฟรีจาก http://msdn.microsoft.com/vstudio/express/

ท่านควร download โปรแกรม Visual C# 2005 Express Edition เพื่อทดสอบการเขียนโปรแกรมภาษา C# แบบ desktop (WinForm และ console application) และ download โปรแกรม Visual Web Developer 2005 Express Edition เพื่อทดสอบการเขียนโปรแกรมแบบ web application และ download โปรแกรม SQL Server 2005 Express หากต้องการทดสอบการทำงานกับฐานข้อมูลแบบ MS-SQL และท่านควร download MSDN Library Express หากต้องการข้อมูลอ้างอิงต่างๆ แบบ off-line

ASP.NET ที่จะใช้แสดงตัวอย่างเป็น ASP.NET 2.0 สิ่งที่ท่านจำเป็นต้องใช้เพื่อทดสอบโปรแกรม และทำแบบฝึกหัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ Windows XP, Windows Server 2003 หรือสูงกว่า หรือ Windows Vista ที่ติดตั้ง IIS (Internet Information Service) ไว้แล้ว หากยังไม่ได้ติดตั้ง ท่านสามารถติดตั้งโปรแกรม IIS ได้จากแผ่น CD Windows XP Professional, Windows Server 2003-2005 หรือ Windows Vista (ใน Windows Vista จะเป็น IIS เวอร์ชัน 7) โดยการเลือก Add/Remove

นอกจาก Windows XP และ IIS แล้วท่านยังจำเป็นต้องมี .NET Framework version 2.0 ซึ่งท่านสามารถ download มาติดตั้งได้ฟรีจากเว็บไซต์ http://www.microsoft.com/downloads

ผู้เขียนจะไม่อธิบายรายละเอียดวิธี download และติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ เพราะมีวิธีการเช่นเดียวกับการ download และติดตั้งโปรแกรมทั่วไป

 

ตัวอย่างการทำงานของเว็บไซต์

ผู้เขียนได้จดทะเบียนและเปิดใช้งานเว็บไซต์ตัวอย่าง เพื่อให้ท่านสามารถทดสอบการทำงานของเว็บไซต์ที่ท่านจะได้เรียนวิธีสร้างในหนังสือเล่มนี้ คือ http://www.thailand2siam.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ใช้งานจริงโดยสมบูรณ์ ท่านจึงสามารถทดลอง function ต่างๆ ของโปรแกรมได้ทั้งหมด เช่นการ เรียกดูรายการสินค้า การเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้า

หากท่านต้องการทดลองแก้ไขข้อมูลสินค้า โปรดเข้าไปในหน้า sign-on และใช้ข้อมูลดังนี้

User name : reader
Password : reader

 

วิธีเข้าถึง Source code

ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนอธิบายหลักการออกแบบ และหน้าที่ของโปรแกรมโดยละเอียด โดยแยกอธิบายแต่ละส่วน แต่เพื่อไม่ให้หนังสือหนามากเกินไป ผู้เขียนจึงไม่ตีพิมพ์ Source code ของทุกคลาสซ้ำรวมกันทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง หากท่านต้องการดู Source code ที่ต่อเนื่อง หรือต้องการดาวน์โหลด Source code ทั้ง project เพื่อนำมาทดลองคอมไพล์ในเครื่องของท่านๆ สามารถดาวน์โหลดได้จากหน้า http://www.thailand2siam.com/download โดยท่านอาจเลือก download เพียงบางส่วน คลาส บางหน้าเว็บ หรือจะดาวน์โหลดทีเดียวทั้งหมดก็ได้ (user name และ password คือ reader)

การถามคำถามและการปรับปรุงข้อมูล

หากท่านต้องการถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนี้ หรือติชม หรือให้ข้อแนะนำใดๆ หรือต้องการสื่อสารกับผู้เขียน โปรด post ข้อความของท่านไว้ในเว็บบอร์ด http://www.thailand2siam.com/messageboard ผู้เขียนจะตอบคำถามทุกข้อโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

การตรวจทานความถูกต้องของต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้ แม้จะทำอย่างอย่างประณีต แต่กระนั้นหาผู้เขียนพบหรือได้รับรายงานข้อผิดพลาดใดๆ ภายหลังหนังสือออกจำหน่ายไปแล้ว ผู้เขียนจะ post การแก้ไขไว้ในเว็บบอร์ดนี้

เนื้อหาโดยย่อของหนังสือ

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองภาค คือจากบทที่ 1 ถึงบทที่ 6 เป็นภาคทฤษฏี และบทที่ 7 ถึงบทที่ 21 เป็นภาคปฏิบัติ ตอนท้ายเล่มจะมีข้อสอบ เฉลยแบบฝึกหัดในแต่ละบท และเฉลยข้อสอบ

 

เนื้อหาโดยสังเขปของแต่ละบทเป็นดังนี้

บทที่ 1 การเขียนโปรแกรมแบบ OOP

อธิบายคำศัพท์ คำจำกัดความ และแนวคิดหลายอย่างเกี่ยวกับ OOP ที่ท่านจำเป็นต้องรู้ก่อน จึงจะเข้าใจเนื้อหาส่วนใหญ่ในบทต่อๆ ไปได้

  • ความหมายของ OOP
  • คลาสกับ object
  • object กับ type
  • การใช้งาน object
  • ความเป็นมาของ OOP
  • OOP วิธีคิดใหม่ในการสร้างซอฟท์แวร์
  • Object based programming
  • Object Oriented Programming
  • Encapsulation
  • Inheritance
  • Polymorphism
  • OOP กับ Microsoft .NET Framework

บทที่ 2 .NET Framework และคลาสไลบรารี

แนะนำ เรื่องพื้นฐานของ Microsoft .NET Framework โดยสังเขป ซึ่งมีหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • การเขียนโปรแกรมใน Microsoft .NET Framework
  • เรื่องพื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ .NET Framework
  • การประมวลผลแบบกระจาย
  • เรื่องของ managed code
  • เรื่องของ CLR
  • การจัดสรรหน่วยความจำ
  • เรื่องของ stack
  • เรื่องของ heap
  • เรื่องของ garbage collector
  • เรื่องของ Dispose และ Finalize
  • แนะนำ .NET Framework class library
  • วิธีเขียนโค้ดเรียกใช้งาน FCL

บทที่ 3 ภาษา C# ระดับพื้นฐาน

แนะนำหลักการ OOP ที่ปรากฏในภาษา C# อันเป็นข้อมูลที่ท่านจำเป็นต้องรู้หากต้องการใช้ภาษา C# เป็นเครื่องมือเพื่อเขียนโค้ดตามหลักการ OOP ยกตัวอย่างเช่น value type กับ reference type เป็นอย่างไร การใช้งานแตกต่างกันอย่างไร อะไรคือ interface มีประโยชน์อย่างไร ควรนำมาใช้เมื่อใดเป็นต้น

  • ชื่อภาษา C#
  • ภาษา C# คืออะไร
  • ผู้สร้างภาษา C#
  • เปรียบเทียบภาษา C# กับภาษาอื่นๆ
  • ภาษา C# มีอะไรดี
  • ปรัชญาในการออกแบบภาษา C#
  • คุณสมบัติอื่นๆ ของภาษา C#
  • คุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นในเวอร์ชัน 2.0
  • คุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นในเวอร์ชัน 3.0
  • โปรแกรม Hello world
  • โครงสร้างของโปรแกรมในภาษา C#
  • namespace
  • Type ในภาษา C#
  • ตัวแปรในภาษา C#
  • Value type
  • Reference type
  • การทำ Boxing และ Unboxing
  • การสร้างคลาส
  • Base class / Derived class
  • class implicit type conversion
  • stuct
  • หลักการตั้งชื่อในภาษา C#
  • นิพจน์และตัวกระทำในภาษา C#
  • การประกาศ
  • Array
  • สรุปท้ายบท
  • คำถามท้ายบท

บทที่ 4 ภาษา C# ระดับปานกลาง

แนวคิดพื้นฐานของภาษา C# ที่จะนำเสนอในบทนี้ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ท่านจำเป็นต้องรู้ก่อนศึกษาในขั้นประยุกต์ใช้งานในภาคสองของหนังสือเล่มนี้ ในบทนี้ท่านจะได้เรียนหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • Statement
  • สมาชิกของคลาสและ struct
  • Access modifier
  • Type modifier
  • Assembly
  • Field
  • property
  • Method
  • constructor
  • destructor
  • method Parameter
  • method Signature
  • method overloading

บทที่ 5 ภาษา C# ระดับก้าวหน้า

บทนี้ผู้เขียนจะอธิบายลักษณะพิเศษ (features) ต่างๆ ของภาษา C# ซึ่งเป็นเครื่องอำนวยให้เราเขียนโค้ดเป็น OOP ได้โดยสะดวกและสง่างาม ขอให้ท่านมอง features เหล่านี้เป็นเหมือนเครื่องมือซึ่งอยู่ในกล่องเครื่องมือ ที่บางอย่างเราต้องใช้บ่อยๆ ขณะที่บางอย่างนานๆ ครั้งจึงจะได้ใช้ และบางอย่างแทบไม่มีโอกาสได้ใช้เลย

ยกตัวอย่างเช่น เรามักจำเป็นต้องสร้างและใช้งาน delegate บ่อยๆ ขณะที่ interface นั้น นานครั้งจึงจะเจอสถานการณ์ที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นเอง (ส่วนมากมักจะเรียกใช้ของผู้อื่นเสียมากกว่า) ส่วน Pointer นั้นเราอาจไม่เคยมีโอกาสได้ใช้เลย

ผู้เขียนรวบรวม features ระดับก้าวหน้าของภาษา C# ไว้ครบตั้งแต่ C# เวอร์ชันแรก ถึง c#3.0 แต่เนื่องจากภาษา C# มี features ก้าวหน้าจำนวนมาก จึงนำเสนอได้เพียงโดยย่อพอสังเขป สำหรับใช้เป็นความรู้เบื้องต้นเพื่อศึกษาในระดับสูงต่อไป

ตัวอย่างโค้ดที่แสดงในบทนี้แม้จะเป็นโค้ดที่สมบูรณ์ ได้รับการทดสอบและคอมไพล์แล้วว่าถูกต้อง นำไปรันได้จริงๆ แต่ก็เป็นโค้ดที่เขียนอย่างสั้นที่สุด เรียบง่ายที่สุด ใช้เพื่ออธิบายแนวความคิด เท่านั้น ไม่ใช่โค้ดที่เขียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานจริงๆ ส่วนโค้ดที่เขียนเพื่อใช้ประยุกต์ใช้งานจริง ท่านจะพบได้ในภาคปฏิบัติของหนังสือเล่มนี้

ในบทนี้ท่านจะได้เรียนเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • Inheritance
  • Versioning
  • Abstract
  • Interface
  • IEnumerator
  • Indexer
  • Iterator, yield
  • Regex (Regular Expression)
  • Generic
  • Operator overloading
  • Delegate
  • Pointer และ Unsafe Code
  • Implicitly typed local variables
  • Lambda expressions
  • Object และ collection initializes
  • Anonymous types
  • Implicitly typed arrays
  • Query expressions
  • Expression trees

บทที่ 6 การเขียนโปรแกรมบนเว็บด้วยภาษา C#

ในบทนี้ท่านจะได้เรียนหัวข้อต่างๆ ที่สำคัญสำหรับการเขียนโปรแกรมในเว็บด้วยภาษา C# ซึ่งมีหัวข้อหลักดังนี้

  • การเขียน Web app
  • กายวิภาคของของ ASP.NET
  • สิ่งที่ต้องใช้เพื่อการพัฒนา ASP.NET
  • โครงสร้างเว็บไซต์ ASP.NET
  • ไฟล์ชนิดต่างๆ ใน ASP.NET
  • การทำงานของหน้าเว็บแบบ ASP.NET
  • Postback และ Round trip
  • Server Controls
  • Event อันเกิดจาก Page และ Server control
  • Event ที่มีความถี่สูง
  • สถาปัตยกรรมของ ASP.NET
  • System.Web.UI Namespace
  • ASP.NET Page Class
  • Code-Behind
  • Web User Control
  • CSS กับ Web server control
  • Global.asax
  • Web.config
  • เว็บไซต์ catalog สินค้า

บทที่ 7 คลาสที่เป็นรากฐานของทั้งเว็บไซต์

บทนี้เป็นบทแรกในภาคทฤษฏีของหนังสือเล่มนี้ ในบทนี้ท่านจะได้เรียนวิธีประยุกต์หลักการ inheritance ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งในสามหลักการสำคัญของ OOP มาใช้เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง consistency ของหน้าเว็บ โดยในบทนี้จะมีหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • design consistency
  • คลาส WebBaseRoot
    • Constructor
    • OnInit
    • AddHead
    • AddTail
    • AddTitle
    • AddMainFrame
    • AddControlsFromDerivedPage
    • AddMenu
    • AddTailAddress
    • AddRunTimeControls
    • GenerateHtmlFrom
    • BuildPage
  • คลาส WebBaseNormal
    • โครงสร้างของคลาส WebBaseNormal
    • Constructor
    • AddMenu
    • AddMainMenu
    • AddCatMenu
    • AddTailAddress
    • AddRunTimeControls
  • คลาส WebFormBase

บทที่ 8 คลาสสร้างส่วนประกอบมาตรฐานของเว็บไซต์

ในบทนี้ท่านจะได้เรียนวิธีนิยามคลาสสร้างส่วนประกอบมาตรฐานของเว็บไซต์ catalog สินค้า www.thailand2siam.com ซึ่งมีสามคลาสคือ Default ทำหน้าที่เป็น homepage คลาส GlobalVar ทำหน้าที่เก็บค่ากำหนดต่างๆ และ TailAddress ทำหน้าที่สร้างข้อความแสดงชื่อที่อยู่ของบริษัทซึ่งจะปรากฏที่ด้านล่างสุดของทุกๆ หน้า

หัวข้อต่างๆ ในบทนี้คือ

  • เรื่องของ Reusable
  • คลาส Default
    • Default.aspx.cs
    • ส่วนประกอบต่างๆ ในหน้า Default.aspx
  • คลาส GlobalVar
    • string Literal
    • Menu literal
    • Background & Color scheme
    • Category literal
    • public constant
    • folder specific
  • คลาส TailAddress
    • สมาชิกแบบ filed
    • สมาชิกแบบ property
    • constructor
  • RenderTailAddress
  • Cascade Style Sheet

บทที่ 9 สร้างเมนูให้เป็น object

อธิบายเบื้องหลังวิธีคิดในการสร้าง object โดยยกตัวอย่างวิธีออกแบบและสร้างเมนูที่ใช้งานได้จริงในเว็บไซต์

  • กายวิภาคของเมนู
  • ทางเลือกในการสร้างเมนู
  • การกำหนดรูปแบบเมนูด้วย CSS
  • คลาส MenuNavigator
    • สมาชิก field
    • สมาชิกแบบ property
    • สมาชิกแบบ method
      • constructor
      • method RenderMenu
  • วิธีสร้างเมนูแบบ LiteralControl
  • การนำ menu ไปใช้งาน

บทที่ 10 การสร้างหน้าเว็บ

สามบทที่ผ่านมาท่านได้เรียนองค์ประกอบพื้นฐานทั้งหมดของเว็บไซต์ catalog สินค้า www.thaialnd2siam.com ที่ใช้เป็นตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ไปแล้ว ในบทนี้เราจะมาดูว่าโปรแกรม ASP.NET ทำอะไรบ้างเมื่อผู้ใช้เปิดหน้าเว็บ เกิดอะไรขึ้นกับโปรแกรมของเรา ASP.NET มีขั้นตอนการทำงานอย่างไรกับโค้ดในหน้าเว็บ Default.aspx ซึ่งเป็นหน้า Home page ของเว็บไซต์ของเรา

หัวข้อต่างๆ ที่ท่านจะได้เรียนในบทนี้คือ

  • ยุค Web Application
  • การพัฒนา WebForm
  • การทำงานของ WebApp
  • การสร้างโดเมน
  • การตรวจสอบไวรัสและ event
  • การทำงานของ constructor
  • การตอบสนอง event OnInit
  • การจับ Control ใส่ container
  • Control ที่ต้องบรรจุใน form
  • การตอบสนอง Page_Load

บทที่ 11 คลาสจัดการฐานข้อมูลสินค้า

ในบทนี้ท่านจะได้เรียนวิธีนำหลักการ abstract และ information hiding ตามแนวคิด OOP มาประยุกต์ใช้เพื่อทำฐานข้อมูลให้เป็น object ที่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมเพื่อดึงข้อมูลสินค้าจากฐานข้อมูล และนำมาแสดงแยกตามประเภทสินค้า หรือแสดงรายละเอียดสินค้าแต่ละตัวทำได้โดยง่าย และโค้ดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

หัวข้อต่างๆ ที่ท่านจะได้เรียนในบทนี้คือ

  • ทบทวนเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล
  • Access database
  • SQL Server
  • โครงสร้างฐานข้อมูล
  • Database wrapped class
  • ADO.NET
  • คลาส ProductDatabase
  • สมาชิกแบบ field ของคลาส ProductDatabase
  • สมาชิกแบบ property ของคลาส ProductDatabase
  • สมาชิกแบบ Method ของคลาส ProductDatabase
  • productDataBase
  • RecordCount
  • GetData
  • UpdateData
  • AddData
  • UpdateImage
  • DeleteRecord
  • โค้ดโดยสมบูรณ์ของคลาส ProductDatabase

บทที่ 12 คลาสแสดงรายการสินค้า

สาทิตการสร้าง object ที่ห้อหุ้มข้อมูลจากฐานข้อมูล และวิธีนำ object ไปใช้ในหน้าเว็บ เว็บไซต์ catalog สินค้า http://www.thailand2siam.com ที่ใช้เป็นตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ รายการสินค้าที่แสดงบนจอมีภาวะเป็น object ทั้งหมดเรียกว่า thumb ในบทนี้ท่านจะได้เรียนวิธีสร้าง thumb การนิยามคลาส ShowThumb และคลาส ShotThumbList และคลาส ShowCategory ซึ่งเป็นหน้าเว็บแสดงรายการสินค้า

หัวข้อต่างๆ ที่ท่านจะได้เรียนในบทนี้คือ

  • กายวิภาคของ thumb
  • คลาส ShowThumb
    • สมาชิกแบบ field ของคลาส ShowThumb
    • constructor
    • RenderItem
  • คลาส ShowThumbList
    • กายวิภาคของ thumb list
    • สมาชิกแบบ field ของคลาส ShowThumbList
    • สมาชิกแบบ property ของคลาส ShowThumbList
    • constructor ของคลาส ShowThumbList
    • RenderList
  • คลาส ShowCategory
    • CatListParam
      • Method ในคลาส ShowCategory
      • constructor
      • Page_Load
      • DisplayThubmList
      • MakeThumbList
      • ReadCatDatabase
      • AddTail
      • AddCatMainFrame
      • AddTailAddress
      • UpdateColorSet
      • ShowUserName
      • ImageButtonLogin_Click
      • ImageButtonLogOut_Click

บทที่ 13 คลาสแสดงรายละเอียดสินค้า

สาทิตการใช้โค้ดภาษา HTML ร่วมกับโค้ดภาษา C# เพื่อสร้าง object บนหน้าเว็บแทนการใช้ Web Server Control

ขณะที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์ www.thailand2siam.com กำลังชมรายการสินค้าในหน้าแสดงรายการสินค้า (หน้า ShowCategory.aspx) เมื่อต้องการดูรายละเอียดของสินค้า ก็เพียงแค่คลิกเมาส์ที่ภาพ thumbnail หรือที่ลิงค์ More โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดสินค้านั้นทันที หน้าเว็บที่ทำหน้าที่แสดงรายละเอียดสินค้าคือ ViewDetail.aspx (ต่อไปจะเรียกย่อว่า ViD) ในบทนี้ท่านจะได้เรียนรายละเอียดวิธีสร้าง ViD ด้วยการเขียนโปรแกรมภาษา C# เพื่อนิยามคลาสและสมาชิกต่างๆ ของมัน

  • กายวิภาคของ ViD
  • คลาส ProductDetail
  • สมาชิกแบบ property ของคลาส ProductDetail
  • สมาชิกแบบ method ของคลาส ProductDetail
    • method RenderProductDetail
  • คลาส ViewDetail
  • สมาชิกแบบ Field ของคลาส ViewDetail
  • สมาชิกแบบ method ของคลาส ViewDetail
    • constructor
    • Page_Load
    • CheckCalVisible
    • cal_ConverterClose
    • CheckAuthorize
    • GetPostParam
    • SetProNav
    • AddAdminMenu
    • AddContent
    • AddBackMenu
    • ShowAdminMenu
    • AddRunTimeControls
    • LinkButtonRemove_Click
    • ButtonCurrencyConverter_Click
    • CreateDataTable
    • GetOneRecord

หัวข้างต่างๆ ข้างบนมีหน้าที่แสดงการประยุกต์ใช้งานหลักการ OOP และภาษา C# ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้

  • การสร้างหน้าเว็บเป็น base class ที่นำไป inherit เป็นหน้าเว็บใหม่
  • การสร้างส่วนแสดงรายละเอียดสินค้าให้เป็น object
  • วิธีรับ event ที่เกิดจาก delegate
  • การประยุกต์ใช้งาน parameter modifier แบบ out
  • การใช้ client script ร่วมกับ server script ด้วยการสร้างฟังก์ชันภาษา JavaScript ทำงานโต้ตอบกับโค้ดภาษา C#
  • การสร้างหน้าเว็บที่ทำงานได้สองหน้าที่ คือใช้เป็นหน้าแสดงรายละเอียดสินค้า และใช้เป็นหน้าแก้ไขข้อมูลสินค้า โดยทำงานร่วมกับ user control
  • การตรวจสอบสิทธิของผู้ใช้ (ว่าเป็น user หรือเป็น Admin)
  • การใช้งาน user control
  • การใช้ struct เพื่อรับข้อมูลจากฐานข้อมูล

บทที่ 14 การประยุกต์ใช้งาน delegate และ event กับเครื่องแปลงค่าเงิน

ในบทนี้ท่านจะได้เรียนวิธีนำหลักการ delegate และ event มาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ และจะได้เรียนวิธีออกแบบและสร้างโปรแกรมใน .NET Framework ที่สำคัญหลายหลักการ เช่น การสร้างข้อกำหนดจำเพาะของคลาส การออกแบบ user interface การใช้คำสั่ง using วิธีนำ Delegate มาใช้ร่วมกับ event โดยมีหัวข้อต่างๆ ในบทนี้ดังนี้

  • คลาสและรถจักรยานยนต์
  • คลาส CurrencyConverter เครื่องแปลงค่าเงิน
  • คุณสมบัติของเครื่องคิดเลข
    • คุณสมบัติในแง่การใช้งาน
    • คุณสมบัติในแง่การทำงาน
  • ออกแบบด้วยการถามตอบ
    • โจทย์ในแง่การใช้งาน
    • โจทย์ในแง่การพัฒนา
  • สถาปัตยกรรม Model-view-controller (MVC)
  • Currency Converter กับ User Interface
  • คลาส CurrencyConverter
  • ความสำคัญของ using
  • ส่วนนิยามชื่อคลาส CurrencyConverter
  • สมาชิกของคลาส
  • delegate เดี๋ยวนี้
  • ทำไมคลาส CurrencyConverter จึงต้องใช้ delegate
  • Delegate กับผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
  • วิธีประกาศ delegate
  • Delegate และ Event
  • รายละเอียดของขั้นตอน event และ delegate
  • สรุปเรื่อง delegate

บทที่ 15 การประยุกต์ใช้ Constructor, destructor และสมาชิกอื่นๆ ของคลาส

ในบทนี้ท่านจะได้เรียนวิธีนิยามและการประยุกต์ใช้งาน filed สมาชิกเพื่อสร้างตัวแปรทั้งแบบ value type และ reference type การประยุกต์ใช้ enum และตัวจัดการสีของ .NET วิธีนิยามและการประยุกต์ใช้งาน property วิธีเขียนโค้ดเพื่อกลั่นกรองค่าที่รับมาจาก client class และในตอนท้ายบทผู้เขียนจะแสดงวิธีนิยาม constructor และ destructor เพื่อสร้างและทำลาย object

หัวข้อที่ท่านจะได้เรียนในบทนี้มีดังนี้

  • ผู้สร้างและผู้ทำลาย
  • แผนภูมิของคลาส CurrencyConverter
  • Field ของคลาส CurrencyConverter
    • การกำหนดตำแหน่งบนหน้าเว็บ
    • ผู้ช่วยจัดการสีโดยอัตโนมัติ type color
    • เรื่องของ enum
    • object แบบ Web Server Control
  • Property ของคลาส CurrencyConverter
    • property Top
    • implicit parameter
    • ขั้นตอนการทำงานของ property Top
    • Property Left
    • Property อื่นๆ ของคลาส CurrencyConverter
  • Constructor ผู้สร้าง
    • Operator new
    • Constructor overload และ constructor chain
    • static constructor และ Initializers
    • ประโยชน์ของ constructor
    • Constructor ของคลาส CurrencyConverter
  • Destructor ผู้ทำลาย
    • ข้อสังเกตเกี่ยวกับ destructor

บทที่ 16 การใช้ Web server control โดยการเขียนโค้ด: สอนเทคนิคการใช้ Web Server Control ด้วยการเขียนโค้ดแทนการลาก-หยอดใน designer ของ Visual Studio .NET

ในบทที่ 14 และ 15 ท่านได้เรียนวิธีนิยามคลาส delegate, event และสมาชิกแบบ field , method constructor และ destructor ของคลาส CurrencyConverter ไปแล้ว ในบทนี้เราจะมาดูรายละเอียดสมาชิกแบบ method ที่เหลือในคลาส CurrencyConverter

หัวข้อต่างๆ ที่ท่านจะได้เรียนในบทนี้คือ

  • method ShowConverter
  • ตัวอ้างอิงหน้าเว็บ
  • Comment ในภาษา C#
  • การสร้าง Panel หลัก
  • Layer กับ Z-Index
  • ControlCollection
  • การสร้าง Title Bar
  • การสร้าง Title text และ Cascade style sheet
  • ปุ่ม Convert!
  • Reference type กับ object
  • การใช้ Event, Delegate กับปุ่ม
  • วิธีอ่าน text file ใน server
  • การเรียกใช้สมาชิกของ static class
  • วิธีเขียน text file ใน server
  • การใช้งาน Web service
  • การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน
  • method ที่ทำงานเมื่อกดปุ่ม

บทที่ 17 สร้าง ASP.NET User Control เพื่อท่องไปในรายการสินค้า: สาทิตวิธีสร้างและใช้งาน object แบบ User Control

ในบทที่ผ่านมาท่านได้เรียนวิธีสร้าง object ซึ่งมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ไปแล้วหลายตัว เช่น ระบบเมนู thumb list และเครื่องคิดเลข โดยทุกตัวใช้วิธีสร้างแบบเขียนโค้ดภาษา C# ล้วนๆ ในบทนี้ท่านจะได้เรียนวิธีสร้าง object แบบ ASP.NET User Control (WUC) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่ามาก เพราะเราจะใช้ Designer ของโปรแกรม Microsoft Visual Studio .NET (VS.NET) ช่วยสร้างโค้ดให้โดยอัตโนมัติ

หัวข้อที่ท่านจะได้เรียนในบทนี้มีดังนี้

  • กายภาพของ PN
  • ASP.NET Web User Control
  • วิธีสร้าง WSC
  • ไฟล์ ProductNavigator.ascx
  • คลาส ProductNavigator
    • สมาชิกแบบ filed ของคลาส ProductNavigator
    • สมาชิกแบบ Property ของคลาส ProductNavigator
    • สมาชิกแบบ method ของคลาส ProductNavigator
      • ShowNavThumb
      • GetNextRecord
      • GetPreviousRecord
      • GetFirstRecord
      • GetLastRecord
      • ShowProduct
      • method บริการ event ปุ่ม BF, BL, BP และ BN
      • ImageButtonNav_Click

บทที่ 18 สร้างหน้า Log-In และคลาสจัดการสิทธิของผู้ใช้: สาทิตวิธีประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล session variable และการใช้ AccessDataSource Control

เว็บไซต์ http://www.thailand2siam.com ที่ใช้เพื่อเป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานหลักการ OOP และภาษา C# ในหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะมีส่วนแสดงรายละเอียดของหน่วยงาน และส่วนแสดงรายการสินค้า ซึ่งเป็นหน้าเว็บสำหรับผู้ชมทั่วไปแล้ว ยังมีส่วนหน้าเว็บเพื่อให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ (web admin) สามารถ แก้ไข ลบ เพิ่มข้อมูลสินค้าได้โดยง่าย

หัวข้อที่ท่านจะได้เรียนในบทนี้มีดังนี้

  • ระบบสิทธิของ User
  • ตาราง UserData
  • คลาส UserDataBase
  • หน้า UserLogIn
  • คลาส UserLogIn
    • Method UserLogin (constructor)
    • Method Page_Load
    • Method ButtonLogIn_Click
  • หน้า UserListShow
  • คลาส UserListShow
    • Method UserListShow (constructor)
    • Method Page_Load
    • Method ShowUserTable
  • หน้า UserViewDetail
  • กายวิภาคของ PN
  • คลาส UserViewDetail
    • constructor
    • Page_Load
    • AddMenu
    • CreateDataTable
    • ShowUserData
    • ShowPageNavigator
  • หน้า UserEdit
  • AccessDataSource Control
  • FormView Web Server Control
  • คลาส UserEdit
  • หน้า UserLogOut
  • คลาส UserLogOut

บทที่ 19 ในบทนี้ผู้เขียนจะสาทิตวิธีประยุกต์ใช้งาน OOP โดยแสดงตัวอย่างการสร้างหน้าเว็บเพื่อแก้ไขข้อมูลสินค้า ในบทนี้ท่านจะได้เรียนหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้

  • หน้าเว็บเพื่อการแก้ไขข้อมูล Edit.aspx
  • โค้ดในไฟล์ Edit.aspx
  • คลาส Edit
    • Constructor
    • Method PageLoad
    • Method SetProductEdit
    • Method AddRunTimeControls
  • สร้าง UserControl เพื่อป้อนพิมพ์ข้อมูลสินค้า
  • คลาส ProductEdit
    • สมาชิก Field ของคลาส ProductEdit
    • สมาชิก property ของคลาส ProductEdit
    • Method RenderProdEdit
    • การส่งผ่าน struct เป็นพารามิเตอร์
    • Method CreateDataTable
    • Method GetOneRecord
    • method GetFromTextBox
    • Method AddContent
    • Method populateCategoryListBox
    • เทคนิคการใส่ข้อมูลใน DropDownList
    • Method บริการการกดปุ่ม
    • Method ButtonSubMit_Click
    • Method ButtonCancel_Click
    • Method ButtonNewImage_Click
  • หน้าเว็บเพื่อการเพิ่มข้อมูลใหม่ หน้า Add.aspx
  • หน้าเว็บเพื่อการลบข้อมูลสินค้า
  • วิธีเขียน JavaScript เพื่อใช้งานร่วมกับภาษา C#

บทที่ 20 หน้าเว็บซึ่งทำหน้าที่เพิ่มและเปลี่ยนภาพสินค้า หรือหน้า NewImage.aspx เป็นหน้าเว็บสุดท้ายที่ผู้เขียนยังไม่ได้อธิบาย ผู้เขียนเก็บหน้านี้ไว้อธิบายหลังสุดไม่ใช่เพราะมันมีความสำคัญน้อยที่สุด อันที่จริงแล้วหน้าเว็บ NewImage.aspx มีแง่มุมน่าสนใจ ควรค่าแก่การเรียนรู้หลายอย่าง

ตัวอย่างเทคนิคการเขียนโปรแกรมภาษา C# ที่ท่านจะได้เรียนในบทนี้คือ วิธีเขียนโปรแกรมแสดงกรอบข้อความ Chose file เพื่อให้ผู้ใช้เลือกไฟล์ที่ต้องการ เทคนิคการ upload ไฟล์ภาพจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปยังเครื่องแม่ข่าย วิธีเปลี่ยนฟอร์แมตภาพเป็น .jpg เขียนโค้ดเปลี่ยนขนาดภาพให้มีขนาดต่างๆ และวิธีบันทึกไฟล์ภาพลงในเครื่องแม่ข่ายเป็นต้น

หัวข้อต่างๆ ที่ท่านจะได้อ่านในบทนี้มีดังนี้

· วิธีการใช้งานหน้าเปลี่ยนภาพสินค้า

  • กายวิภาคของหน้าเว็บ NewImage.aspx
  • คลาส NewImage
    • Constructor ของคลาส NewImage
    • method GetOneRecord
    • method AddContent
    • method ResizeImage
    • method MakeLongFileName
    • method UpdateImageDataBase
    • method validFileExtention
    • method ButtonUpload_Click
    • method ButtonCancel
    • method ButtonOK_Click

บทที่ 21 ถึงตอนนี้เราสร้างหน้าเว็บและนิยามคลาสต่างๆ ของเว็บไซต์ www.thailand2siam.com ครบถ้วนหมดแล้ว ถึงเวลาที่เราจะนำทุกอย่างมารวมกันและเปิดใช้งานเว็บไซต์ ในบทนี้ท่านจะได้เรียนหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • วิธีคอมไพล์โปรแกรมให้เป็นเว็บไซต์
  • วิธีสร้าง server เพื่อทดสอบโปรแกรม
  • การเลือก ASP.NET web server
  • ฟรี ASP.NET 2.0 web hosting
  • วิธีติดตั้งเว็บไซต์ใน ASP.NET web server
  • การสร้างตารางในฐานข้อมูลแบบ Microsoft SQL

หมายเหตุ

เว็บไซต์ที่ท่านกำลังอ่านนี้เป็นตัวอย่างเนื้อหาบางตอนในหนังสือ ครอบคลุมบทที่ 1 ถึงบทที่ 6 (ในหนังสือมี 21 บท) ข้อเขียนในหนังสืออาจอาจแตกต่างจากในเว็บไซต์ (Blog นี้) เพราะที่ท่านกำลังอ่านนี้เป็นเนื้อหาที่ยังไม่ได้ตรวจแก้ขัดเกลา (เนื้อหาก่อนการ edit)

ในเว็บนี้ผู้เขียนแบ่งแต่ละบทออกเป็นตอนสั้นๆ เพื่อให้สะดวกกับการอ่านบนหน้าจอ โดยแบ่งออกดังนี้

  • บทที่ 1 ในหนังสือคือ ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 7 ใน Blog
  • บทที่ 2 ในหนังสือคือ ตอนที่ 8 ถึงตอนที่ 10 ใน Blog
  • บทที่ 3 ในหนังสือคือ ตอนที่ 11 ถึงตอนที่ 18 ใน Blog
  • บทที่ 4 ในหนังสือคือ ตอนที่ 19 ถึงตอนที่ 23 ใน Blog
  • บทที่ 5 ในหนังสือคือ ตอนที่ 24 ถึงตอนที่ 32 ใน Blog
  • บทที่ 6 ในหนังสือคือ ตอนที่ 33 ใน Blogเป็นต้นไป

 

ตอนต่อไป: การเขียนโปรแกรมแบบ OOP

Post a comment or leave a trackback: Trackback URL.

ความเห็น

  • กีต้าร  On มิถุนายน 12, 2007 at 10:42 am

    แจ่ม
     

  • นายจิระพงษ์  On กรกฎาคม 28, 2007 at 1:13 pm

    เนื้อหาคอนคางน้อย
     

  • Sabaku no  On สิงหาคม 16, 2007 at 3:36 pm

    อยากได้จังดูแล้วเหมือนจะง่าย กะลังต้องทำโปรเจกต์ ใครแนะนำได้บ้างว่ามันง่ายไหม สำหรับผู้เริ่มต้นเขียน 

  • Thiti  On สิงหาคม 26, 2007 at 1:15 pm

    Good Content! 

  • Aey  On กันยายน 7, 2007 at 1:34 pm

    แหล่ม เลย อ่ะ คับ 

  • นางสาว สุจิตรา  On กันยายน 10, 2007 at 11:43 am

    น่าซึ่อมาอ่านนะ 

  • nopparat  On กันยายน 17, 2007 at 8:51 am

    ใครมีsource codeตัวอย่างขอด้วยคับเกี่ยวกับ e-commerce
     

  • Ekapun  On กันยายน 18, 2007 at 8:45 pm

    ขอบคุณครับที่แนะนำหนังสือดีๆ 

  • Ronachai  On กันยายน 21, 2007 at 3:37 pm

    ไม่ทราบว่ามีขายหรือยังครับ ถ้ามีแล้วช่วยเมลล์บอกด้วย 

  • Jeerasith  On ตุลาคม 27, 2007 at 9:08 am

    ของค่ายไหน หาซื้อได้ที่ไหนครับ ผมหาซื้อไม่มีอะครับ

  • anurak  On ตุลาคม 30, 2007 at 2:08 pm

    แจ่มมากเลยครับ  อยากเอามาช่วยงานเราจัง 

  • panu  On พฤศจิกายน 6, 2007 at 1:52 pm

    ค่อนค้างดีทีเดียว

  • มาแว้ว  On พฤศจิกายน 11, 2007 at 1:44 pm

    อยากทราบว่า ไอ้การทำให้ datasource สามารถใช้งานได้เหมือน object มันมีหรือเปล่าครับ ถ้ามีแล้วทำยังไงครับ แบบเรียก row ที่ละ row แล้วมเอามา ใส่ string

  • Freedom  On พฤศจิกายน 12, 2007 at 12:30 pm

    ดีคับ น่าจะมีทุกโปรแกรม

  • Freedom  On พฤศจิกายน 12, 2007 at 12:30 pm

    ดีคับ น่าจะมีทุกโปรแกรม

  • Freedom  On พฤศจิกายน 12, 2007 at 12:31 pm

    ดีคับ น่าจะมีทุกโปรแกรม

  • ZeRoXlll  On พฤศจิกายน 14, 2007 at 3:36 pm

    มีตามร้านหนังสือไหนอ่าครับ B2S หรือ ดอกหญ้าครับ ???

  • เอื้อมพร  On พฤศจิกายน 16, 2007 at 11:23 am

    อยากได้เป็นรายละเอียดปลีกย่อยนะค่ะ
     

  • Ongsa  On พฤศจิกายน 26, 2007 at 5:32 pm

    อุดหนุนแล้วครับ มีอะไรสามารถมาถามที่นี่ได้ป่าวครับ

  • Ongsa  On ธันวาคม 8, 2007 at 11:44 am

    หนังสือพี่ดีนะครับ เสียอย่างเดียวไม่มี index ด้านหลังให้อ่ะครับ
    บางทีคือจำไม่ได้ ก้อไม่รู้ว่าจะไปเปิดตรงหน้าไหนอ่ะครับ

  • MEEPOOH  On มกราคม 10, 2008 at 10:44 pm

    แนนนำหนังสือ C#  .NET  BASIC
    ที่มี WORKSHOP เยอะๆหน่อยครับ

  • Atthakorn  On กุมภาพันธ์ 29, 2008 at 4:43 pm

    ผมซื้อมาอ่านแล้วครับ ทำให้เข้าใจการเขียนโปรแกรมแบบ OOP ขึ้นเยอะเลยครับ
    อ่านเข้าใจง่ายดีครับ แต่ก็ยังมีเนื้อหาหรือคำที่พิมพ์ผิดอยู่บ้างครับ

  • Unknown  On สิงหาคม 18, 2008 at 5:30 pm

    enter (wow gold) and (wow power leveling) trading site, (wow gold) are cheap, (wow power leveling) credibility Very good! Quickly into the next single! Key words directly to the website click on transactions!

  • มัทยา  On มกราคม 17, 2010 at 9:57 am

    อุดหนุน Database แล้วค่ะหนังสืออ่านง่ายมาก อธิบายเข้าในดีค่ะตอนนี้กำลังจะทำโปรเจค เกี่ยวกับระบบสืบค้นอ่าค่ะ Information Reteieval อ่าค่ะกำลังหา C# มาอ่านอยู่ อยากได้คำแนะนำดีดีเกี่ยวกับการตัดคำในภาษาไทยจังค่ะขอบคุณค่ะ<<< สำหรับ บทความดีๆ และหนังสือที่อ่านเข้าใจง่าย ทำออกมาเยอะๆๆนะค่ะ

  • ☆शून्य☆  On กุมภาพันธ์ 5, 2010 at 8:23 pm

    เล่มนี้ราคาเท่าไหร่ค่ะ ช่วยบอกหน่อยนะค่ะ

ส่งความเห็นที่ Sabaku no ยกเลิกการตอบ